การพัฒนาโครงงานทางด่านเทคโนโลยีจำเป็นต้องใช้แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบเพื่อให้โครงงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย การพัฒนาโครงงานใดๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีขั้นตอนเบื้องต้น6ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดปัญหา วิเคราะห์ระบบ ออกแบบระบบ พัฒนาระบบและทกสอบระบบ ติดตั้งระบบ และบำรุงรักษาระบบ
2.1 กำหนดปัญหา
กำหนดปัยหา วิเคราะห์ความเป็นไปได้และวางแผน คือ ขั้นตอนที่ทีมผู้พัมนาซอฟแวรืทำการวิเคราห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ว่าจะสามารถดำเนินการได้สำเร็จหรือไม่ รวมทั้งจัดทำเอกสารการวางแผนการดำเนินงาน
1)ประชุมทีมงาน คือ การประชุมทีมผู้พัฒนา เพื่อกำหนดหน้าที่ให้แก่ทีมงานกำหนดลักษณะการทำงาน ข้อตกลงต่างๆ รวมถึงมาตรฐานการทำงาน ข้อตลกต่างๆ รวมถึงมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้ปฎิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2)กำหนดแผนงาน คือ ขั้นตอนการจัดทำแผนการดำเนินงาน ซึ่งถือว่าผลลัพธ์ของขั้นตอนการการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และการวางแผน วึ่งหลังจากกำหนดแผนการดำเนินงานแล้วทีมผู้พัฒนาต้องนำเสนอแผนการดำเนินงานดังกล่าวต่อผู่บริหารหรือผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาเพื่อพิจารณาและลงลายมือชื่อต่อไป หากมีการปรับปรุงแก้ไขให้รีบดำเนินการทันที
2.2วิเคราะห์ระบบ
วิเคราะห์ระบบ คือขั้นตอนการทำความเข้าใจกับระบบ ทั้งระบบงานปัจจุบันและระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาแทนที่ หรือระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยการทำความเข้าสใจระบบงานนั้นจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหา และความต้องการต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ขอบเขตของระบบงานใหม่ ฟังก์ชันงานต่างๆ และฟังก์ชันเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับบุคลากรใดบ้าง ซึ่งขั้นตอนการวิเคาระหืระบบมีขั้นตอนย่อย ดังนี้
1.สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน คือ ขั้นตอนที่ต้องลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆดังนี้ ขั้นตอนการทำงานของระบบงานเดิม เอกสารการทำงานต่างๆ ของระบบงานเดิม ปัญหาที่พบของระบบงานเดิม ความต้องการของระบบที่สร้างขึ้นใหม่ และข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นต่างๆของระบบใหม่ ในการสัมภาษณ์ทีมงานพัฒนาไม่ควรดำเนินงานเพียงลำพัง แต่ควรจัดทีมงานสัมภาษณ์อย่างน้อย2คน เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน
2.วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ คือ หลังจากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลแล้วทีมผู้พัฒนาควรนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์หาข้อมูลดังนี้ ปัญหาและสาเหตุของปัญหาของระบบงานเดิม ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดของระบบใหม่ ความต้องการของระบบงานใหม่โดยต้องกลับไปสัมภาษณ์และวิเคราะห์ซ้ำ หากยังไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการไดครบถ้วน หลักการวิเคราห์คือ แสดงให้เห็นว่าระบบทำอะไร ดดยไม่พิจารณาว่าระบบทำอย่างไร
3.กำหนดขอบเขตของระบบ คือ การกำหนดขอบเขตการพัมนาระบบงานใหม่ โดยต้องกำหนดว่าจะดำเนินการทำอย่างไรบ้าง ไม่ทำอะไรบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง หากกำหนดขอบเขตไม่ชัดเจน อาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างทีมผู้พัฒนาและผู้ใช้งาน ส่งผลให้ทีมผู้พัฒนาดำเนินงานนอกเหนือความต้องการของระบบ
4.วิเคราะห์กลุ่มกระบวนการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น